อารมณ์ความรู้สึกของสมอง
อารมณ์ความรู้สึกต่างๆของมนุษย์นั้น ปรากฎออกมาเป็นรูปแบบการทำงานของสมองที่แตกต่างกัน และการฝึกจิตสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานของสมองนั้นได้
Richard Davidson เป็น ศาสตราจารย์ทางจิตวิทยาสมอง (Neuropsychologist) ทำงานที่ U.of Wisconsin ทำงานวิจัยเรื่องของการฝึกจิตโดยเฉพาะทางสายพุทธ เพื่อดูว่ามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานของสมองอย่างไร
หนังสือเล่มนี้ได้แบ่งอารมณ์ความรู้สึกออกเป็น 6 มิติดังนี้
1. Resilience: หมายถึง การกลับคืนสู่อารมณ์ปกติ (เร็ว/ช้า)
2. Outlook: หมายถึง มุมมองทัศนคติที่มีต่อโลกภายนอก (+/-)
3. Social Intuition: หมายถึง การปรับตัวเข้ากับสังคมภายนอก
4. Self-Awareness: หมายถึง การมีสติรับรู้ถึงความรู้สึกภายในตัวเรา
5. Sensitivity to Context: หมายถึง ความไวในการการรับรู้และควบคุมความรู้สึกของตัวเองต่อสถานการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่
6. Attention: ความสามารถที่เฉียบคมและชัดเจนในการจดจ่อกับสิ่งที่ต้องการ
เจ้าอารมณ์ความรู้สึกทั้ง 6 มิตินี้ มีรูปแบบเฉพาะที่ชัดเจนของการทำงานของเซลล์สมองในพื้นที่ต่างๆของสมอง และก็จะไปมีผลต่อการพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของเราด้วย
จากความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์สมอง ทำให้ค้นพบว่าสมองของมนุษย์นั้นสามารถปรับเปลี่ยนได้(Neuroplasticity) และการฝึกจิตก็คือเครื่องมือในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการทำงานของเซลล์สมองนั่นเอง(Train your mind change your brain)
เครื่องมือในการฝึกจิตนั้นมีมากมาย แต่ใครจะใช้อะไรอย่างไรแล้วได้ผล ก็คงขึ้นอยู่กับบริบทของคนๆนั้น
แต่ที่ได้ผลดีและมีอยู่ใกล้ตัวเรามากๆก็คือ การฝึกจิตทางสายพุทธ ซึ่งทีมนักวิจัยทางสมองได้ทดสอบมาแล้วพบว่า การฝึกจิตโดยวิธี “การเจริญสติ” (Mindfulness meditation) และ “การเจริญกรุณา” (Compassion meditation) เป็นสุดยอดของเครื่องมือในการฝึกจิต
ดังนั้นถ้าอยากมีสุขภาพจิตดี สุขภาพสมองดี ก็หมั่นฝึกจิตเจริญสติและกรุณากันให้มากๆนะครับ
รักจากหมอคิม
2 พฤศจิกายน 2561